การฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ
1 การเตรียมความพร้อมในการปูองกันและระงับอัคคีภัย กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อม      ในการทำงานเกี่ยวกับการปูองกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2555 ข้อ 4 กำหนดให้ สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป นายจ้างต้องจัดให้มีแผนป้องกันและระงับ      อัคคีภัย ประกอบด้วย การตรวจตรา การอบรม การรณรงค์ปูองกันอัคคีภัย การดับเพลิง การอพยพหนีไฟ การบรรเทาทุกข์และการปฏิรูปฟื้นฟู องค์ประกอบของแผนดังกล่าวจะ      ดำเนินในภาวะต่างกัน คือ ก่อนเกิดเหตุเพลิงไหม้ ขณะเกิดเหตุเพลิงไหม้ และหลังจาก เพลิงสงบแล้ว รายละเอียดแยกได้ ดังนี้

     1.1 ก่อนเกิดเหตุเพลิงไหม้ ซึ่งจะประกอบด้วย แผนปูองกันอัคคีภัยต่างๆ 3 แผน คือ

  • แผนการอบรม เป็นการอบรมให้ความรู้กับพนักงานทั้งในเชิงปูองกันและการปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุ ซึ่งการ เกิดอัคคีภัยภายในสถานประกอบการ ย่อมนำมาซึ่งความสูญเสียต่อธุรกิจการค้าทั้งทางตรงและทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็น ทรัพย์สินเสียหาย การผลิต การบริการหยุดชะงัก เสียโอกาสกรขาย หรืออาจถึงขั้น มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ดังนั้น ในการปูองกันและลดความเสี่ยงด้านการเกิดอัคคีภัย จึงจะเป็นต้องจัดให้มีแผนการอบรม โดย
กำหนด ผู้รับผิดชอบ ระยะเวลาดำเนินการ และงบประมาณให้ชัดเจน  
  • แผนการรณรงค์ปูองกันอัคคีภัย เป็นแผนเพื่อปูองกันการเกิดอัคคีภัยในสถานประกอบการ โดยเป็น การสร้างความสนใจ และส่งเสริมในเ รื่องการป้องกันอัคคีภัยให้เกิดขึ้นในทุกระดับ ของพนักงานในแผนการรณรงค์ป้องกันอัคคีภัย ควรกาหนดผู้รับผิดชอบ ระยะเวลาดำเนินการ และงบประมาณให้ชัดเจน
  • แผนการตรวจตรา เป็นแผนการสารวจความเสี่ยงและตรวจตรา เพื่อเฝ้าระวังป้องกันและขจัด ต้นเหตุของการเกิดเพลิงไหม้ ก่อนจัดทำแผนควรมีข้อมูลต่างๆ ดังนี้ เชื้อเพลิง สารเคมี สารไวไฟ ระบบไฟฟ้า จุดที่มี โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้ และต้องมีการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับ คุณสมบัติลักษณะการลุกไหม้ ปริมาณของสาร อันตรายที่มีอยู่สูงสุด ชนิดของสารดับเพลิงและปริมาณที่ต้องใช้เพื่อประกอบการวางแผน การตรวจตรา ควรมีการกำหนดบุคคล พื้นที่ที่รับผิดชอบ หัวข้อและจุดที่ต้องตรวจ ระยะเวลา ความถี่ ผู้ตรวจสอบรายงาน การส่งรายงานผล การแจ้งข้อบกพร่องในการตรวจตราที่ชัดเจน
1.2 ขณะเกิดเหตุเพลิงไหม้ซึ่งจะประกอบด้วย แผนเกี่ยวกับการดับเพลิง และลดความสูญเสีย โดยประกอบด้วยแผนต่างๆ 3 แผน คือ
  • แผนการดับเพลิง เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดการเมื่อเกิดเพลิงไหม้ เช่น ลำดับ ขั้นตอนการ ปฏิบัติการ วิธีการดับเพลิงเบื้องต้น กำหนดบุคคลในแผนดับเพลิงขั้นต้นและหน้าที่ โครงการสร้างองค์กรรองรับ เหตุการณ์ และการแจ้งขอรับการสนับสนุนจากหน่วยกับเพลิงภายนอก
  •  แผนการอพยพหนีไฟ เป็นแผนที่กำหนดขึ้นเพื่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของพนักงาน และของสถานประกอบการในขณะเกิดเหตุเพลิงไหม้ช่วยให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยและไม่เกิดความสับสนใน กรณีที่ต้องมีการอพยพหนีไฟ แผนการอพยพหนีไฟที่กำหนดขึ้นนั้น ควรมีองค์ประกอบต่างๆ เช่น หน่วยตรวจสอบจำนวน พนักงาน ผู้นำทางหนีไฟ จุดนัดพบ หน่วยช่วยชีวิต ยานพาหนะ
  • แผนบรรเทาทุกข์ ซึ่งจะเป็นแผนที่มีการปฏิบัติต่อเนื่องไปจนถึงหลังเหตุเพลิงไหม้สงบลงแล้วด้วย เป็นแผนที่จัดขึ้นเพื่อให้การช่วยเหลือบุคลากรและการเตรียมการฟื้นฟูเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การช่วยชีวิต การเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย การประเมินความเสียหาย การช่วยเหลือลูกจ้าง การเข้าสู่กระบวนการทำงานปกติ และ การประสานหน่วยงานต่างๆ
1.3 หลังเหตุเพลิงไหม้สงบลงแล้ว จะประกอบด้วยแผนที่จะดำเนินการเมื่อเหตุเพลิงไหม้สงบแล้ว 2 แผน คือ
  • แผนการบรรเทาทุกข์ซึ่งดำเนินการต่อเนื่องจากภาวะเกิดเหตุเพลิงไหม้
  •  แผนปฏิรูปฟื้นฟูเพื่อให้เข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว